วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่ได้รับจากการไปเข้าค่าย ณ วัดธงทอง


สิ่งที่ได้รับจากการไปเข้าค่าย ณ วัดธงทอง

จากประสบการณ์ที่ฉันได้รับจากการไปเข้าค่ายที่วัดธงทอง อ.ร่อนพิบูรณ์ จ.นครศรีธรรมราชคือได้ฝึกสมาธิ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ได้เรียนรู้ว่าเราควรมีความตั้งใจในการทำงานต่างๆที่เราได้วาดหวังเอาไว้ให้ประสบกับความสำเร็จ ทั้งยังได้เรียนรู้ว่ากฎแห่งกรรมมีจริงใครทำอะไรไว้ก็จะได้รับสิ่งนั้นและยังฝึกให้เป็นคนรู้จักอดทนอีกด้วย ซึ่งถ้าหากมีโอกาศอีกฉันก็จะขอไปปฏิบัติธรรมอีกเพราะทำให้ฉันได้เรียนรู้อะไรตั้งมากมาย


การปลูกพริกหวาน

การปลูกพริกหวาน


พริกหวาน หรือ BELLPEPPER หรือ CAPSICUM มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกา ใต้และแพร่กระจายพันธุ์ปลูกไปทั่วโลกตั้งแต่ ค.ศ.1493 เป็นพืชล้มลุกในกลุ่ม NIGHT-SHADE กลุ่มเดียวกันกับมะเขือเทศ มะเขือม่วง เป็นต้น ซึ่ง “พริกหวาน” มีด้วยกันหลายสี คือ สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีส้ม สีม่วง สีดำ และ สีขาว แต่ที่นิยมปลูก นิยมรับประทานและมีผลขายทั่วไป ได้แก่ชนิด สีเขียว สีแดง และ สีเหลืองสามสี ที่กล่าวมา สีเขียว จะมีความหวานน้อยที่สุด ส่วนสีแดงกับสีเหลืองหวานที่สุด ลักษณะต้นสูงครึ่งฟุตถึงหนึ่งฟุต หรือสูงกว่านั้นอยู่ที่สายพันธุ์ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ สีเขียวสด ดอก สีขาว “ผล” รูปทรงกลมรีเล็กน้อย รอบผลมีร่องแบ่งเป็นพูๆ 4 ร่อง ผลโตเต็มที่ประมาณผลส้มเขียวหวาน ด้านในกลวงมีเมล็ด เนื้อหนา รสชาติเผ็ดปนหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมผ่าหรือฝานเป็นชิ้นบางๆทำสลัดผัก ปรุงเป็นผัดพริกหวานกุ้งสดใส่งาดำ ยำพริกหวานใส่กุ้งสุก และอื่นๆ รับประทานอร่อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปัจจุบัน “พริกหวาน” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 19 แผง “นายดาบสมพร” ราคาสอบถามกันเอง
การปลูกพริกหวาน พริกหวานชอบแดด ไม่ ชอบน้ำท่วมขัง ถ้าปลูกลงดินจำนวนหลายๆต้น ต้องยกแปลงปลูกให้สูง ปรุงดินผสมแกลบดิบ แกลบดำ (แกลบเผา) ฟาง แห้งสับละเอียด ขี้วัวขี้ควายแห้ง คลุกให้เข้ากันจนได้ที่ เกลี่ยหน้าดินให้เรียบ นำต้นลงปลูกห่างกัน 1 ฟุตครึ่ง ใช้ฟางแห้งปิดทับหน้าดินตลอดทั้งแปลงในช่วงปลูกตอนแรก รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยสูตร 16-16-16 สลับกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพครึ่งเดือนครั้ง เมื่อสังเกตเห็นว่าต้นตั้งตัวได้ดีแล้วสามารถเอาฟางแห้งที่ปิดทับหน้า แปลงออกได้จากนั้น 7-8 เดือน ต้น “พริกหวาน” จะ มีดอกและติดผล ซึ่งตอนนี้มักจะมีเพลี้ยเกาะกินใบให้ใช้สารสะเดาฉีดพ่นบางๆ อาทิตย์ ละครั้ง เมื่อผลสุกหรือแก่สามารถเก็บรับประทานหรือเก็บขายได้ ต้นหนึ่งจะเก็บผลได้ 1-2 ชุด จากนั้นจะตายตามวัฏจักรของพืชล้มลุก ดังนั้น จึงต้องเก็บผลแก่จัดผ่าเอาเมล็ดตากแห้งเพาะขยายพันธุ์เตรียมไว้ให้พอดีกับ ต้นที่ตาย จะได้มี “พริกหวาน” รับประทานหรือขายไม่ขาดระยะครับ.
แหล่งที่มา http://www.najalern.ob.tc/prigwhan.html

การเลี้ยงสุนัขพันธ์เล็ก

Dogilike.com :: การดูแลลูกสุนัขพันธุ์เล็ก
การเลี้ยงสุนัขพันธ์เล็ก

ปัจจุบันสุนัขพันธุ์เล็กเช่น พูเดิลทอย,ชิสุ,ยอร์คเชียร์เทอร์เรีย,ชิวาวา,ปอม ฯลฯ กำลังได้รับความนิยมอย่างมากเพราะ ความน่ารัก ไม่ต้องอาศัยพื้นที่มาก และพาไปเที่ยวได้ง่าย คอลัมน์การดูแลสุนัขวันนี้ จึงนำเรื่องของการดูแลสุนัขพันธุ์เล็กมาฝากกันครับ

   สรีระร่างกาย
   เริ่มกันที่เรื่องของสรีระ เนื่องจากความเล็กนี่ล่ะ ตอนเป็นลูกสุนัขจะยิ่งจิ๋วเข้าไปอีก ดังนั้นการบาดเจ็บจึงเกิดขึ้นง่าย ต้องระวังการอุ้ม สุนัขอาจจะดิ้นจนตกลงมาได้ การปล่อยสุนัขไว้ในที่สูงเช่น โต๊ะ ต้องระวังสุนัขกระโดดหรือหล่นลงมา อาจทำให้สุนัขขาหักได้
  
   ผลเสียที่จะตามมาคือ สุนัขที่กระดูกหัก อาจส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตที่ผิดลักษณะธรรมชาติ ทำให้รูปร่างผิดสัดส่วนได้
   การนอน
   สุนัขตัวเล็กต้องการการพักผ่อน ดังนั้นถ้าเห็นว่าสุนัขเริ่มง่วง อย่างตาปรือหรือเริ่มนิ่งๆ อาจปล่อยให้น้องได้พักผ่อนบ้าง อย่าชวนน้องเล่นจนเพลินนะครับ
    อาหาร   เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเช่นกัน เพราะอาหารสำหรับลูกสุนัขมีสารอาหารที่แตกต่างจากสุนัขโต รวมทั้งขนาดที่เล็กกว่า ความแข็ง ความอ่อน ควรอ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ ด้วยว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง และสารอาหารครบถ้วนหรือไม่ อีกข้อควรระวังคือ อย่าให้ลูกสุนัขรับประทานอาหารมากเกินไป

   สุขภาพ
   การฉีดวัคซีนป้องกันต่างๆ ต้องคำนึงถึงเรื่องน้ำหนักตัวของสุนัขด้วย เพราะสุนัขขนาดเล็กย่อมควรได้รับวัคซีนที่เหมาะสมกับขนาดตัว
    ส่วนยามเจ็บป่วย ให้ผู้เลี้ยง สังเกตอาการต่างๆ เวลาสุนัขขณะป่วย ด้วยว่ามีอาการผิดปกติอะไรบ้าง เมื่อถึงเวลาพาไปหาสัตวแพทย์ ก็บอกเล่าอาการที่สังเกตพบ จะได้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาน้องหมาครับ

   ใครกำลังสนใจเลี้ยงสุนัขพันธุ์เล็ก อย่าลืมรายละเอียดข้างต้นด้วยนะครับ สุนัขจะได้มีสุขภาพแข็งแรง ร่าเริงสดใส ไม่เจ็บป่วยครับ ^^

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อยากบอกแม่ว่า....

อยากบอกแม่ว่า....

หนูอยากบอกแม่ว่าหนูรักแม่มากเพราะแม่คือหนึ่งในดวงใจของหนู แม่คอยอบรม สั่งสอนหนูมาตลอดให้หนูเป็นเด็กดี มีการศึกษาและหนูก็ขอสัญญากับแม่ว่า หนูจะเป็นเด็กดีของแม่จะตั้งใจเล่าเรียนหนังสือ ถึงแม้ว่าหนทางไปสู่ความสำเร็จนั้นจะยังอีกยาวไกลแต่หนูก็จะไม่ท้อจะรอคอยความสำเร็จด้วยความตั้งใจและนำพาความสำเร็จไปฝากแม่ให้ได้






การเลี้ยงปลาทอง-การฟักไข่


การเลี้ยงปลาทอง-การฟักไข่
      ไข่ที่ติดกับSeaweedหรือเชือกฟางจะมีสีเหลืองใส ไข่ที่ได้รับการผสมจะฟักเป็นตัวภายใน 2-3 day
ขึ้นกับอุณหภูมิน้ำ ส่วนไข่ปลาที่ไม่ได้รับการผสมน้ำเชื้อจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น ไข่ที่เริ่มฟักเป็นตัว
จะมีจุดดำ (Eye spot) ปรากฏขึ้น จากนั้นส่วนหางก็จะค่อย ๆ เจริญขึ้นมาจนสามารถมองเห็นการเคลื่ไได้ลูกปลาแรกฟักมีขนาดเล็กตัวใสเกาะติดกับรังไข่ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วประมาณ 2-3 day
ลูกปลาจึงจะว่ายออกจากรังไข่และว่ายน้ำเป็นอิสระลูกปลาที่เกิดใหม่จะมีสีน้ำตาลคล้ำหรือสีดำ
หลังจากนั้นสีทองจะเริ่มพัฒนาขึ้น ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป การเลี้ยงปลาทอง-การอนุบาลลูกปลาจใบเดิมนำมาขยายบ่อเพื่ออนุบาลต่อไปก็ได้ ขณะที่ทำการดูดเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรใช้กระชอนตาถี่หรือผ้าบาง ๆ
มารองรับกันลูกปลาไหลไปตามน้ำ

การเลี้ยงปลาทอง-การอนุบาลลูกปลา       บ่อที่ใช้อนุบาลลูกปลาไม่ควรเป็นบ่อขนาดใหญ่มาก เพราะจะทำให้การดูแลและการจัดการลำบาก
โดยทั่วไปการเลี้ยงปลาทอง-การอนุบาลลูกปลาอาจใช้บ่อกลม ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 cm หรืออาจจะใช้บ่อสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1 ตารางเมตรก็ได้
       ในช่วงที่ลูกปลาฟักตัวออกมาระยะ 2-3 dayแรก ยังไม่จำเป็นต้องให้อาหาร เนื่องจากลูกปลามีถุง
อาหาร (Yolk sac) อยู่ซึ่งลูกปลาจะดูดซึมอาหารจากถุงอาหารนี้ หลังจาก 3 dayแล้วจึงเริ่มให้อาหาร
โดยให้ลูกไรแดงขนาดเล็กที่ผ่านการกรองด้วยตาข่ายหรือจะใช้ไข่แดงต้มสุกละลายน้ำแล้วหยดให้ปลา
กิน dayละ 3-4 ครั้ง ให้ประมาณ 2-3 day การให้ไข่แดงต้องระมัดระวังปริมาณการให้เพราะไข่จะทำ
ให้น้ำเสียเร็วควรให้แต่น้อย ๆรอให้ปลากินหมดแล้วจึงให้เพิ่ม   และถ้าปลากินเหลือควรดูดเศษอาหาร
ออกโดยใช้สายยางขนาดเล็กดูดออกในกรณีที่ต้องใช้น้ำประปาที่มีต้นทุนสูงควรเปลี่ยนถ่ายน้ำแต่น้อย ๆ
และบ่อยครั้งขึ้น เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำทำให้ลูกปลาตายได้ และใช้กระชอนตาถี่ๆมาวางไว้เพื่อรองรับน้ำที่ถูกดูดออกมาจากบ่อเลี้ยงปลาเพราะอาจจะมีลูกปลาถูกดูดติดออกมาได้อัตราการเปลี่ยนถ่ายน้ำในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 20-25% ของปริมาณน้ำในบ่อ
       บางฟาร์มที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งมีต้นทุนต่ำอาจเปลี่ยนถ่ายน้ำตลอดเวลา    โดยใช้ระบบ
น้ำหมุนเวียน หลังจากที่ให้ไข่แดงหรือลูกไรแดงแล้ว 3 day ควรเปลี่ยนเป็นไรแดงขนาดใหญ่ขึ้น ลูกปลา
มีอายุ 15 dayจึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูป และอาหารสดที่มีขนาดใหญ่เสริม เช่น ลูกน้ำ ไส้เดือนน้ำ    ควร
ให้dayละ 3-4 ครั้ง เมื่ออนุบาลลูกปลาจนกระทั่งมีอายุ 2 สัปดาห์ควรคัดปลาที่พิการออกไปเป็นปลาเหยื่อ
และเลือกปลาที่มีลักษณะที่ดีไว้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรงของลำตัว และครีบต่าง ๆ   โดยเฉพาะ
ครีบหางและควรมีการคัดขนาดด้วย    เพราะลูกปลาที่มีขนาดเล็กจะแย่งอาหารไม่ทันลูกปลาที่มีขนาด
ใหญ่กว่าจึงควรคัดออกเพื่อนำมาแยกเลี้ยง
         สำหรับการเลี้ยงปลาทอง-การอนุบาลลูกปลาขนาดเล็กไม่ควรนำไปเลี้ยงในน้ำที่มีระดับความลึกมาก เพราะจะทำให้ปลามีรูปร่างไม่สวยงาม และไม่เลี้ยงหนาแน่นเกินไป ควรเลี้ยงในอัตราส่วน 100 - 250 ตัว/ตารางเมตรหลังจากที่อนุบาลลูกปลาประมาณ 1 เดือน ลูกปลาจะมีขนาด 2-3 cm อาจให้หนอนแดง ไส้เดือนน้ำหรือหนอนขี้หมูขาวด้วยก็ได้แต่ต้องนำมาต้มก่อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อของปลาหรือจะให้อาหารสำเร็จรูปเป็นอาหารปลาดุกเล็ก หรืออาหารผสมระหว่างอาหารปลาดุเล็กกับไข่ตุ๋นก็ได้

 แหล่งที่มา http://การเลี้ยงปลาทอง.blogspot.com/